ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 จากการประมวลผลจากฐานข้อมูลสถิติที่เอาตัวตนออกไปแล้วของเครดิตบูโรพบข้อเท็จจริงว่า หนี้ครัวเรือนไทยทั้งก้อนหลังการปรับปรุงข้อมูลโดย ธปท. มีตัวเลขอยู่ที่ 15.96 ล้านล้านบาทคิดเป็น 90.6%ของ GDP (รวมหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ / หนี้ กยศ. / หนี้ครู)
ซึ่งตามมุมมองของ นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) สะท้อนว่าเศรษฐกิจของเรามีปัญหาในเรื่องนี้ และจะติดกับดักนี้ต่อไปอีกสักพัก
ขณะที่ ตัวเลขในระบบเครดิตบูโร หนี้ครัวเรือนไทยอยู่ที่ 13.45 ล้านล้านบาท ครอบคลุม 32 ล้านลูกหนี้ที่เป็นหนี้กับสถาบันการเงินไทยกว่า 135 แห่ง
โดยเป็นหนี้เสียไปแล้วและรอการแก้ไขในตอนนี้กลับมาแตะ 1 ล้านล้านบาท อีกครั้งในเดือนมิถุนายนที่ 2566 ที่ระดับ 1.03 ล้านล้านบาทคิดเป็น 7.7% ขณะที่ เมื่อไตรมาส 1 ปี 2566 อยู่ที่ 9.5 แสนล้านบาท
คำถามคือจะไปต่อหรือไม่ คำตอบคือต้องไปต่อแน่นอนด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และทั่วถึง ประกอบกับจะมีการชักคืนมาตรการช่วยเหลือออกตามแผน แล้วกลับไปใช้มาตรการตามปกติเดิมมารองรับ ตามการคาดการณ์จะไม่ไหลมาแบบรุนแรง แต่มีโอกาสเพิ่มแน่ๆ
ต่อไปคือ “หนี้เสีย” ที่เอาไปปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้กลับมาเป็นหนี้ดี จ่ายได้ ตรงนี้มีจำนวน 9.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่อยู่ที่ระดับ 8 แสนล้านบาท
ส่วนหนึ่งมีการนโยบายที่เร่งเข้าไปช่วยเหลือ ช่วยปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรการที่ออกแบบมาโดย ธปท. ซึ่งหากมีการแก้ไขแล้วสามารถสำเร็จผลได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดี แต่หากไม่ประสบความสำเร็จยังปรับอีกบ่อยครั้งก็ต้องปรับอีก และอาจถูกปล่อยให้เป็นหนี้เสีย
แบงก์ชาติ รับหนี้เสียเพิ่มขึ้นแน่ แต่ไม่พุ่งก้าวกระโดด คำพูดจาก เครื่องสล็อต
เปิด 5 ย่านที่ดินสูงสุดใน กทม.-ราคาที่ดินเปล่าปัจจัยรุมเร้าส่งผลชะลอตัว
หนี้รถยนต์พุ่ง คนทำงานผ่อนไม่ไหว หนี้ครัวเรือน ทะลุ 15 ล้านล้านบาท
เจาะลึกรายละเอียดของหนี้เสียหรือ NPLs
- หนี้กู้ซื้อรถยนต์เกือบ 2 แสนล้านบาท
- หนี้กู้ซื้อบ้าน ที่อยู่อาศัย 1.8 แสนล้านบาท
- หนี้ Ploan 2.5 แสนล้านบาท
- บัตรเครดิต 5.6 หมื่นล้านบาท
- หนี้เกษตร 7.2 หมื่นล้านบาท เป็นต้น
ที่น่าสังเกตคือหนี้กู้มาซื้อรถยนต์นั้นมันเพิ่มขึ้นจากกลางปีที่แล้ว มิถุนายน 2565 สูงถึง 18% อันนี้ต้องยอมรับว่ากลิ่นไม่ค่อยดี แม้หลายคนกำลังรอกลิ่นแห่งความเจริญงอกงามทางเศรษฐกิจในอนาคตแต่ระยะอันใกล้เมื่อเห็นตัวเลขนี้ทำให้ไม่สบายใจเอาเสียเลย
หนี้เสียจากผลกระทบโควิด-19
จากหนี้จำนวนหนี้เสียทั้งหมด 1.03 ล้านล้านบาท พบว่าเป็หนี้เสียที่เกิดจากผลกระทบโควิด-19 (สถานะบัญชี 21 )ทั้งหมด 3.7 แสนล้านบาท คิดเป็นจำนวนรายลูกหนี้ 3.4ล้านคน
ข้อสังเกตที่สำคัญคือ จากไตรมาสที่ 1ปี 2566 หรือเมื่อ 3 เดือนก่อนตัวเลขมันอยู่ที่ 3.1แสนล้านบาทการเพิ่มของจำนวนเงินและจำนวนรายทั้งๆที่มีการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรการแบบมุ่งเป้าอย่างเต็มกำลังสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแรงของความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้ที่ชัดเจน
คำถามคือในระยะเวลาที่เหลือก่อนชักเอามาตรการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวหรือมาตรการฟ้าส้มออกไปในปลายปี ธันวาคม 2566 นี้ จะส่งผลให้เกิดความอืด, ความหนืดในการเร่งจัดการหนี้เสียเป็นหนี้ดีตามที่มุ่งหวังหรือไม่